เอื้องกลีบเกลียว / -

ดอกของเอื้องกลีบเกลียว เมื่อบานเต็มที่แล้วกลีบเลี้ยงกลีบดอกจะลู่ไปด้านหลัง ขอบกลีบม้วนลง ขอบกลีบปากที่หยักพริ้ว เหลืองอ่อนหรือสีออกขาว เป็นกล้วยไม้ดินที่ ออกเป็นช่อยาวได้เกือบเมตร ประวัติการค้นพบ: กล้วยไม้ชนิดนี้ John Lindley นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ตั้งชื่อว่า Bletia obcordata ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1831 ส่วนชื่อที่ได้รับการยอมรับตั้งโดย Paul Ormerod นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่มาชื่อไทย: ลักณะกลีบปากที่ขอบยักเป็นคลื่น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:ต้นสูง ล้าต้นยาว 3-5 เซนติเมตร ช่อดอกยาว ใบ พับจีบ มี 5–9 ใบ ช่อดอกตั้งตรงมีดอกอยู่จำนวนมาก ดอกมีสีเหลืองไปจนถึงสีส้ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานชี้ใบทางด้านหลังดอก กลีบปากมีสีขาว ปลายกลีบปากบิดเป็นคลื่น นิเวศวิทยา: เป็นกล้วยไม้ดิน อาศัยอยู่ในป่าดิบแล้ง การกระจายพันธุ์:มีรายงานพบ กล้วยไม้ชนิดนี้ในหลายประเทศ คือ อินเดีย บังกลาเทศ เมียนมา ลาว เวียดนาม จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งในประเทศไทยมีการกระจายพันธุ์ในจังหวัดเลย กาญจนบุรี นครนายก นครราชสีมา สระบุรี ปราจีนบุรี จันทบุรี ระนอง สุราษฎ์ธานี และตรัง ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง:DNA barcoding for Calanthe orchids identification in Thailand (nu.ac.th)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Cephalantheropsis obcordata (Lindl.) Ormerod

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง